วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

3.3 การตัดสินใจขยายอาชีพด้วยการวิเคราะห์ศักยภาพ


เรื่องที่ 3 การตัดสินใจขยายอาชีพด้วยการวิเคราะห์ศักยภาพ



การสร้างความมั่นคงยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการควรพิจารณาวิเคราะห์ศักยภาพในการขยาย อาชีพ 5 ดานดังนี้
1. ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่
2. ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ
3. ศักยภาพของภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่
4. ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่
5. ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่

1. ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่
ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สามารถ นำไปใช้ให้เกิดประโยชนต่อชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพทรัพยากรธรรมชาติ ไดแก ป่าไม้ แม่น้ำลำคลอง อากาศ แรธาตุต่าง ๆทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดที่ใช้แล้วหมดไป เช่น แรธาตุต่าง ๆ
2. ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ
แต่ละพื้นที่จะมีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกัน เช่น ภาคกลางอากาศร้อน ภาคใต้ ฝนตกเป็นเวลานาน ภาคเหนือมีอากาศเย็น โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรมขึ้นอยู่กับสภาพ ภูมิอากาศเป็นส่วนใหญ่ เช่น ในพื้นที่มีการปลูกลิ้นจี่ ลำไยอยู่แล้วและมีผลผลิตออกมากใน ฤดูกาล ทำให้ราคาตกต่ำต้องการแปรรูปให้เป็นลำไยตากแหง เพื่อให้ไดราคาดี ดังนั้น ตอง พิจารณาว่าในช่วงนั้นมีแสงแดดพอเพียงที่จะตากลำไยไดหรือไม
3. ศักยภาพของภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่
สภาพภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกัน เช่น เป็นภูเขา เป็นที่ ราบสูง ที่ราบลุ่มแต่ละพื้นที่ต้องพิจารณาว่าแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในภูมิประเทศนั้น ๆ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวไดหรือไม หรือต้องการขยายสาขาร้านกาแฟสดไปอีกสถานที่หนึ่งก็ ตองพิจารณาทำเลที่ตั้งแห่งใหม่ว่าจะขายกาแฟไดหรือไม
4. ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่
ประเทศไทยและต่างประเทศมีศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น แต่ละพื้นที่สามารถนำเอาสิ่งเหล่านี้มาใช้เป็นอาชีพได เช่น เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเข้าชม ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้านหรือพาชมวิถีชีวิตอาจจะขยายอาชีพโดยเพิ่มจำนวนรอบที่ เข้าชมให้พอเพียงกับตลาดเป้าหมาย
5. ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่
ทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ หมายถึง ความรู ความสามารถของมนุษย์ที่เป็นภูมิ ปัญญาทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ด้านการประกอบอาชีพต่าง ๆ ในพื้นที่นั้น ๆ เมื่ออาชีพนั้นมี ความมั่นคงในพื้นที่นั้น ๆ แลว อาจจะขยายไปพื้นที่อื่น ๆ การกระจายความสามารถของ ทรัพยากรมนุษย์ก็สามารถทำไดโดยการอบรมผู้สนใจ ในความรูนั้น ๆ ให้สามารถนำไปขยายยัง พื้นที่อื่น ๆ ได

3.2 การวัดและประเมินผลความมั่นคงในอาชีพ



เรื่องที่ 2 การวัดและประเมินผลความมั่นคงในอาชีพ



การประเมินความมั่นคงในอาชีพ ผู้รับผิดชอบในการวัดและประเมินผลที่ดีที่สุด คือ ตัวผู้ประกอบอาชีพเอง เพราะการวัดและประเมินผลความมั่นคงในอาชีพ เป็นเรื่องที่บูรณาการ สิ่งต่างๆ ในตัวของประกอบการอาชีพเอง ตั้งแต่การเรียนรู้ว่าตนเองจะทำอย่างไร การคิดเห็น คุณค่าของกิจกรรมความมั่นคง ความจดจำในกิจกรรมและความรู้สึกพอใจต่อกิจกรรม เป็นเรื่องภายในทั้งสิ้น บุคคลอื่นไม่สามารถรู้เท่าตัวของผู้ประกอบอาชีพ ดังนั้น ความมั่นคงใน อาชีพตัวแปรต้นเหตุที่สำคัญ คือ ใจของผู้ประกอบอาชีพ ซึ่งมีหลักการประเมินสภาวะของธุรกิจ ประกอบด้วย ตัวแปร 4 ตัว ดังนี้
1. การรับรู้ (วิญญาณ) วิธีการรับรู้ที่ใช้ศึกษาภารกิจสร้างความมั่นคง
2. ความคิด (สังขาร) ประเมินคุณค่าว่าดีหรือไม่ดีของภารกิจความมั่นคงที่จะ ดำเนินการ
3. จำได้ หมายรู้ (สัญญา) ประเมินความจำว่าตนเองเอาใจใส่ต่อภารกิจความมั่นคงมากน้อยเพียงใด
4. ความรู้สึก (เวทนา) ประเมินความรู้สึกที่ตนเองพึงพอใจหรือชอบต่อภารกิจความ มั่นคงแบบใด

















วิธีการวิเคราะห์
การวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ มีความจำเป็นที่เจาของธุรกิจจะต้องประเมินตัดสินใจ ด้วยตนเองสำหรับกรณีที่ธุรกิจมีหุ้นส่วนหรือผู้เกี่ยวข้องควรจะใช้วิธีสนทนาเจาะลึกและวิธี ความสัมพันธ์ร่วมกันโดยมีวิธีการดังนี้
1.การวิเคราะห์ตัดสินใจตัวบงชี้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทีละคู่ ด้วยการใช้ วิจารณญาณของตนเอง นึกคิดในรายละเอียดความสัมพันธ์ความไปกันได้ และความเป็นนพวก เดียวกันว่าหนักไปทางมีความสัมพันธ์
2.การให้คะแนนโดยให้คู่องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ได้คะแนน 1 คะแนน คู่ที่ไม่ สัมพันธ์ให้ 0 คะแนน

วิธีการประเมิน
การรวมคะแนนจากองค์ประกอบการประเมินแต่ละข้อ แล้วประเมินสรุปตามเกณฑ์ การประเมิน เช่น
1.แนวทางขยายอาชีพของกลุ่มจักสาน มีคู่ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการ ประเมินรวมคะแนนได้ 9 คะแนน สามารถอธิบายได้ว่าแนวทางขยายอาชีพของกลุ่มจักสาน มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง
2.แนวทางขยายอาชีพของกลุ่มเลี้ยงปลา มีคู่ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการ ประเมินรวมคะแนนได้ 3 คะแนน สามารถอธิบายได้ว่าแนวทางขยายอาชีพของกลุ่มเลี้ยงปลา เป็นรูปแบบที่มีความเป็นไปได้ต่ำมากรูปแบบไม่สามารถนำไปใช้ได้

สรุป
แนวทางประเมินความเป็นไปได้ของการนำรูปแบบขยายอาชีพไปใช้เป็นรูปแบบที่เน้น การใช้เหตุผลเป็นหลัก ไม่ใช่การหาความสัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์ เป็นการมองหาเหตุผลด้วย วิจารณญาณของตนเอง เพื่อรับผิดชอบตนเองและนำตนเองได






วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

3.1 ภารกิจเพื่อความมั่นคงในการทำธุรกิจ


เรื่องที่ 1 ภารกิจเพื่อความมั่นคงในการทำธุรกิจ


ความมั่นคงในอาชีพเป็นเรื่องที่ต้องสร้างต้องทำด้วยตนเอง โดยมีภารกิจไม่น้อยกว่า 5 ภารกิจที่จะต้องเรียนรู้สร้างองค์ความรู้สำหรับตนเองสู่การพึ่งพาตนเองได้ ดังนี้
1. บทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อธุรกิจ
2. การบริหารทรัพยากรดำเนินธุรกิจ
3. การบริหารการผลิต
4. การจัดการส่งมอบผลิตภัณฑ์
5. การวิจัยพัฒนา
1.1 ความหมายของความมั่นคงในการทำธุรกิจอาชีพความมั่นคงในอาชีพ หมายถึง สภาพอาการของความต่อเนื่องและทนทานในการดำเนินการธุรกิจไม่ให้กลับกลายเป็นอื่นบทบาทหน้าที่ของตนเอง หมายถึง บทบาทที่เจ้าของธุรกิจผู้ประกอบอาชีพจะต้องทำด้วยตนเองทำอย่างลึกซึ้งการบริหารทรัพยากร หมายถึง หน้าที่ควบคุมดำเนินการใช้ทรัพยากรให้เป็นไปตามข้อกำหนดของงานธุรกิจที่ทำอยู่การบริหารการผลิต หมายถึง หน้าที่ควบคุมดำเนินการให้ก่อเกิดผลิตผลขึ้นด้วยแรงงานคน หรือเครื่องจักรผลิตผล หมายถึง ผลที่เกิดขึ้น เช่น ปลูกมะม่วงได้ผลเป็นมะม่วงผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้น เช่น การดองหัวผักกาดขาว สิ่งทำขึ้น คือ หัวไช่โป๊เค็มการวิจัยพัฒนาอาชีพ หมายถึง การค้นคว้าข้อมูลวิธีการและสรุปผลอย่างถี่ถ้วนเพื่อทำให้อาชีพเจริญ
1.2 ภารกิจเพื่อความมั่นคงในอาชีพการที่เราขยายขอบข่ายอาชีพออกไปนั่นหมายถึงว่าธุรกิจของเราขยายแตกตัวออกไปหลายกิจกรรมมีการจัดการที่ต้องลงทุนมากขึ้น มีผู้มาเกี่ยวข้องมากขึ้นโดยลำดับ ดังนั้น การที่จะสร้างความมั่นคงอาชีพไม่ให้เสียหาย จำเป็นต้องมีภารกิจเพื่อสร้างความยั่งยืนในอาชีพ อย่างน้อย 5 ภารกิจ ดังนี้
1. บทบาทหน้าที่เจ้าของธุรกิจ มีหน้าที่จะต้องกำหนดทิศทางธุรกิจที่ผู้ประกอบอาชีพจะต้อง
กำหนดทิศทางของธุรกิจว่าจะไปทางไหนให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคมที่เป็นอยู่ และจะเกิดขึ้นในอนาคต มีกิจกรรมที่จะต้องทำ 2 เรื่องดังนี้
1.1 การกำหนดวิสัยทัศน์ เป็นการกำหนดทิศทางของอาชีพที่จะเป็นหรือจะเกิดในอนาคต 3-5 ปี
ข้างหน้าอย่างรอบคอบ และเป็นไปได้ด้วยตนเอง การกำหนดวิสัยทัศน์ สามารถคิดแสวงหาความรู้ ความเข้าใจกำหนดข้อความวิสัยทัศน์ แล้วตรวจสอบความเป็นไปได้ จนมั่นใจจึงกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ที่จะเกิดกับอาชีพต่อไป
1.2 การจัดทำแผนพัฒนาอาชีพ ใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาอาชีพให้เข้าสู่วิสัยทัศน์ให้ได้ด้วย
การกำหนดภารกิจ วิเคราะห์ภารกิจกำหนดกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ วิเคราะห์กลยุทธ์ กำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จและจัดทำแผนปฏิบัติการ
2. การบริหารทรัพยากรดำเนินการ เป็นการจัดการให้เกิดระบบการควบคุม การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด และเกิดของเสียให้น้อยที่สุด ได้แก่
2.1 การวางแผนใช้แรงงานคนและจัดคนคนงานให้เหมาะสม ทำงานและสร้างผลผลิตได้มากที่สุดปัจจัยการผลิตเสียหายและใช้เวลาน้อยที่สุด
2.2 ระบบการควบคุมวัสดุอุปกรณ์และปัจจัยการผลิตไม่ให้รั่วไหลหรือใช้อย่างด้อยประสิทธิภาพในทุกขั้นตอนการผลิต
2.3 การควบคุมการเงิน ค่าใช้จ่าย รายได้ต่าง ๆ ให้ชัดเจน ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
3. การบริหารการผลิต เป็นการควบคุมการดำเนินงานให้เกิดผลซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการบริหารอย่างน้อย 3 กิจกรรม ดังนี้
3.1 การควบคุมคนทำงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดด้วยการจัดให้มีเอกสารขั้นตอนการทำงานที่คนทำงานจะใช้ความรู้สึก ประสบการณ์ของตนเองเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะจะต้องทำไปตามที่กำหนด เมื่อมีข้อบกพร่องจะสามารถตรวจสอบกลับไปยังต้นเหตุได้
3.2 การควบคุมระยะเวลาในเวลาเคลื่อนไหวของงานให้อัตราการไหลเป็นไปตามข้อกำหนด
3.3 การตรวจสอบคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่เสียหายไม่ได้คุณภาพออกจากของดี เพราะจะสร้างความเชื่อถือ ความภักดีต่อลูกค้าที่เชื่อมั่นว่าสินค้าจากสถานประกอบการที่มีคุณภาพจะไม่ผิดหวัง
4. การจัดการส่งมอบผลิตภัณฑ์ เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการอาชีพจะต้องพัฒนาระบบการ
ส่งมอบผลผลิตให้ถึงมือลูกค้าได้ตามข้อกำหนดในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
4.1 การบรรจุภัณฑ์เพื่อการปกป้องผลผลิตไม่ให้เสียหาย บรรจุภัณฑ์เป็นตัวเร้าให้ลูกค้าสนใจในผลผลิต จึงต้องมีการออกแบบให้เรียบร้อย สวยงามตรงกับลักษณะของผลผลิตซึ่งเป็นการส่งเสริมการขายที่สำคัญ
4.2 การส่งสินค้า มีหลายรูปแบบที่จะนำสินค้าไปถึงลูกค้าได้อย่างปลอดภัย สามารถเลือก
วิธีการที่เอกชนและภาครัฐจัดบริหารให้หรือจัดส่งเอง
4.3 การจัดการเอกสารส่งมอบ ใช้เพื่อควบคุมให้ทราบถึงผลผลิตที่นำออกไป มีปริมาณเท่าใด
ไปถึงลูกค้าด้วยวิธีใด และได้รับหรือไม่
5. การวิจัยพัฒนา เป็นการดำเนินงานให้ธุรกิจที่ทำได้อยู่ในกระแสของความนิยม และก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
5.1 ติดตามข้อมูลกระแสความนิยมในสินค้าผลิตผลที่เราทำว่ายังอยู่ในกระแสนิยมอย่างไร
5.2 ติดตามประเมินเทียบเคียงคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เราแข่งขันอยู่ และสภาวะตลาดเป็นอย่างไร
5.3 ดำเนินการวิจัยพัฒนา ด้วยการค้นคว้าหาข้อมูลอย่างดี สร้างองค์ความรู้พัฒนาผลผลิตให้
อยู่ในกระแสความนิยมหรือเปลี่ยนโฉมออกไปสู่ตลาดประเภทอื่น ๆกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความมั่นคงในธุรกิจ
1.3 การคิดสร้างสรรค์กำหนดกิจกรรมในภารกิจสร้างความมั่นคงจากสาระความเข้าใจภารกิจเพื่อความมั่นคงในอาชีพเป็นการนำเสนอแนวคิดที่เป็นธุรกิจค่อนข้างขนาดใหญ่ ดังนั้นผู้เรียนจึงจำเป็นต้องคิดสร้างสรรค์เพื่อตนเองว่าธุรกิจของเราจะทำอะไรบ้าง แค่ไหน และอย่างไร ตัวอย่าง ธุรกิจไร่ทนเหนื่อยเป็นธุรกิจขยายแล้ว ดำเนินการผลิตผักสดผลไม้ในระบบเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่ 130 ไร่ ระบบการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ต้องลงมือทำด้วยตนเองในครอบครัวเพียง 3 คน ภารกิจสร้างความมั่นคงจะต้องคิดสร้างสรรค์ออกแบบให้เหมาะสมกับตนเอง ตัวอย่างบทบาทหน้าที่เจ้าของธุรกิจ ซึ่งจะต้องกำหนดทิศทางและแผนงานด้วยตนเอง ด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ จัดทำแผนควบคุมเชิงกลยุทธ์และโครงการพัฒนาที่จำเป็น และมีพลังทำให้การขับเคลื่อนการทำงานเข้าสู่และเป็นไปตามวิสัยทัศน์ได้ ดังตัวอย่างการคิดสร้างสรรค์กำหนดทิศทางและแผนงานของไร่ทนเหนื่อย

2.3 การกำหนดวิธีการขั้นตอนการขยายอาชีพและเหตุผลของการขยายอาชีพ


เรื่องที่ 3 การกำหนดวิธีการขั้นตอนการขยายอาชีพและเหตุผลของการขยายอาชีพ


เป็นขั้นตอนการปฏิบัติการในอาชีพที่จะต้องใช้องค์ความรู้ที่ยกระดับคุณค่า เพื่อมาใช้ปฏิบัติการจึงเป็นกระบวนการของการทำงานที่เริ่มจากการนำองค์ความรู้ตามขั้นตอนและการควบคุมผลผลิตให้มีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนด5ดำเนินการตรวจสอบหาข้อบกพร่องในการทำงาน ปฏิบัติแก้ไขข้อบกพร่องเป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง2ก็จะทำให้การปฏิบัติการในกิจกรรมอาชีพประสบความสำเร็จสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืน ตามกรอบความคิดนี้

1. การปฏิบัติการใช้ความรู้ โดยใช้วงจรเด็มมิ่ง เป็นกรอบการทำงาน
- P - Plan ด้วยการทำเอกสารคู่มือดำเนินงาน (ซึ่งได้มาจากกิจกรรมยกระดับความรู้) มาศึกษาวิเคราะห์จัดระบบปฏิบัติการที่ประกอบด้วยกิจกรรมขั้นตอน และผู้รับผิดชอบกำหนดระยะเวลาการทำงานกำหนดปัจจัยนำเข้าดำเนินงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- D - Do การปฏิบัติการทำงานตามระบบงานที่จัดไว้อย่างเคร่งครัด ควบคุมการผลิตให้เสียหายน้อยที่สุด ได้ผลผลิตออกมามีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนด
- C - Check การตรวจสอบหาข้อบกพร่องในการทำงานโดยผู้ปฏิบัติการหาเหตุผลของการเกิดข้อบกพร่องและจดบันทึก
- A - Action การนำข้อบกพร่องที่ตรวจพบของคณะผู้ปฏิบัติการมาร่วมกันเรียนรู้หาแนวทางแก้ไขข้อบกพร่อง จนสรุปได้ผลแล้วนำข้อมูลไปปรับปรุงเอกสารคู่มือดำเนินงานเป็นระยะ ๆ ก็จะทำให้องค์ความรู้สูงขึ้นโดยลำดับ แล้วส่งผลต่อประสิทธิภาพของธุรกิจ ประสบผลสำเร็จนำไปสู่ความเข้มแข็งยั่งยืน
2. ทุนทางปัญญา ผลจากการนำองค์ความรู้ไปใช้ มีการตรวจสอบหาข้อบกพร่อง และปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องที่ผลทำให้องค์ความรู้สูงขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นทุนทางปัญญาของตนเอง หรือของชุมชนที่จะเกิดผลต่อธุรกิจ ดังนี้
- องค์ความรู้สามารถใช้สร้างผลผลิตที่คนอื่นไม่สามารถเทียบเคียงได้ และไม่สามารถทำตามได้
จึงได้เปรียบทางการแข่งขัน
- การเปลี่ยนแปลงยกระดับคุณภาพผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่น ภักดีต่อการทำธุรกิจร่วมกัน
- เป็นการสร้างทุนทางมนุษย์ผู้ร่วมงานได้เรียนรู้บริหารระบบธุรกิจด้วยตนเอง สามารถเกิด
ภูมิปัญญาในตัวบุคคล ทำให้ชุมชนพร้อมขยายขอบข่ายอาชีพออกสู่ความเป็นสากล
3. ธุรกิจสู่ความเข้มแข็งยั่งยืน การจัดการความรู้ทำให้องค์ความรู้สูงขึ้น การขยายของอาชีพจึงเป็นการทำงานที่มีภูมิคุ้มกัน โอกาสของความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ต่ำลง ดังนั้น ความน่าจะเป็นในการขยายอาชีพจึงประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง เพราะมีการจัดการความรู้ ยกระดับความรู้นำไปใช้และปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลทำให้ธุรกิจเข้มแข็ง ยั่งยืนได้ เพราะรู้จักและเข้าใจตนเองตลอดเวลา
การจัดทำแผนปฏิบัติการ (P)
การจัดทำแผนปฏิบัติการทางอาชีพ เป็นการดำเนินการที่มีองค์ประกอบร่วม ดังนี้
1.เหตุการณ์หรือขั้นตอนการทำงาน 
2. ระยะเวลาที่กำหนดว่าในแต่ละเหตุการณ์จะใช้เวลาได้ไม่เกินเท่าไร 
3. ปัจจัยนำเข้าและแรงงาน 
ตัวอย่าง วิธีดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพดินไร่ทนเหนื่อย
1. ศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพดิน มีกิจกรรมที่จะต้องทำ
5 กิจกรรม ประกอบด้วย
1. การตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพดิน ดังนี้
- เก็บตัวอย่างดิน
- ส่งตัวอย่างดินให้กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตรวิเคราะห์
- รอผลการวิเคราะห์
- ศึกษาผลวิเคราะห์วางแผนตัดสินใจกำหนดพืชที่ต้องผลิต
2. การไถพรวนหน้าดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องทำและเกี่ยวข้อง ดังนี้
- ไถบุกเบิกด้วยผาน 3 ระยะ
- ไถแปรด้วยผาน 7 ระยะ
- ไถพรวนให้ดินละเอียดด้วยโรตารี่
3. การเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องทำ และเกี่ยวข้อง ดังนี้
- การหว่านปุ๋ยหมัก
- หว่านเมล็ดปุ๋ยพืชสด
- บำรุงรักษาปุ๋ยพืชสดและวัชพืชให้งอกงาม
- ไถพรวนสับปุ๋ยพืชสดให้ขาดคลุกลงดิน
4. การหมักสังเคราะห์ดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องทำและเกี่ยวข้อง ดังนี้
- ให้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลาย
- ตรวจสอบการย่อยสลาย

5. การสร้างประสิทธิภาพดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องทำและเกี่ยวข้อง ดังนี้
- ใส่จุลินทรีย์ไมโครโลซ่า เพื่อย่อยหินฟอสเฟต สร้างฟอสฟอรัสให้กับดิน
- จัดร่องคลุมหน้าดินด้วยฟางข้าวเพื่อป้องกันความร้อน รักษาความชื้นและการเคลื่อนย้ายธาตุ
อาหารในดิน
2. วิเคราะห์ปริมาณงาน ลักษณะงาน กำหนดการใช้เครื่องจักรกล ปัจจัยการทำงานและแรงงาน
3. วิเคราะห์งานกำหนดระยะเวลาของความสำเร็จของแต่ละเหตุการณ์ และสรุประยะเวลาทั้งหมด
ของกระบวนการ
ตัวอย่าง แผนปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพดิน ไร่ทนเหนื่อย
1. ผังการไหลของงานพัฒนาดิน
2. กิจกรรมพัฒนาดินประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์คุณภาพดิน
2. การไถพรวนหน้าดิน
3. การเพิ่มอินทรีย์วัตถุ
4. การหมักสังเคราะห์ดิน
5. การสร้างประสิทธิภาพดิน
3. รายละเอียดปฏิบัติการ
3.1 การวิเคราะห์คุณภาพดิน
ประกอบด้วยระยะเวลาและการใช้ทรัพยากรดำเนินงาน ดังนี้
(1) การเก็บตัวอย่างดินกระจายจุดเก็บดินทั้งแปลง (150 ไร่) ให้ครอบคลุมประมาณ 20 หลุม
เก็บดินชั้นบนและชั้นล่างอย่างละ 200 กรัมต่อหลุม รวบรวมดินแต่ละชั้นมาบดให้เข้ากัน แล้วแบ่งออกมา
อย่างละ 1,000 กรัม บรรจุหีบห่อให้มิดชิดไม่รั่วไหล ใช้เวลา 5 วัน
(2) จัดการนำตัวอย่างดินส่งกองเกษตรเคมีด้วยตนเอง รอผลการวิเคราะห์จากกองเกษตรเคมี
ใช้เวลา 30 วัน
(3) ศึกษาผลการวิเคราะห์วางแผนการผลิต ใช้เวลา 50 วัน
3.2 การไถพรวนหน้าดิน
3.3 การเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน
(4) ไถพรวนสับปุ๋ยพืชสดคลุกเคล้าลงดินด้วยโรตารี่
3.4 การหมักสังเคราะห์ดิน
ประกอบด้วย
(1) ให้จุลินทรีย์ เร่งการย่อยสลาย (พด1+พด 2) ไปพร้อมกับน้ำวันเว้นวัน ใช้คนงาน 1 คน
ตรวจสอบการย่อยสลายในช่วงตอนเช้า 07.00 น. พร้อมวัดอุณหภูมิและจดบันทึกทุกวัน โดยความน่าจะเป็นใน
วันที่ 15 ของการหมัก อุณหภูมิต้องลดลงเท่ากับอุณหภูมิปกติใช้ผู้จัดการแปลงดำเนินการ
3.5 การสร้างประสิทธิภาพดินประกอบด้วย
(1) ใช้จุลินทรีย์ไมโครโลซ่า เพื่อการย่อยสลายของฟอสฟอรัสคลุกลงดิน โดยตีพรวน
ด้วยโรตารี่ จัดร่องปลูกผักตามแผนคลุมหน้าดินด้วยฟางข้าว
(2) ใช้แรงงาน 20 คน ดินมีคุณภาพพร้อมการเพาะปลูก
การทำงานตามแบบแผนปฏิบัติการ (D)
การทำงานตามแผนปฏิบัติการของผู้รับผิดชอบ ยังใช้วงจรเด็มมิ่ง เช่นเดียวกันโดยเริ่มจาก
P : ศึกษาเอกสารแผนปฏิบัติการให้เข้าใจอย่างรอบคอบ
D : ทำตามเอกสารขั้นตอนให้เป็นไปตามข้อกำหนดทุกประการ
C : ขณะปฏิบัติการต้องมีการตรวจสอบทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามข้อกำหนด
A : ถ้ามีการทำผิดข้อกำหนด ต้องปฏิบัติการแก้ไขให้เป็นไปตามข้อกำหนด
การตรวจสอบหาข้อบกพร่อง (C)
เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการปฏิบัติการใช้ความรู้ สร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืน โดยมีรูปแบบการตรวจ
ติดตามข้อบกพร่องดังนี้
1. การจัดทำรายการตรวจสอบ
ด้วยการให้ผู้จัดการและคนงานร่วมกันวิเคราะห์เอกสารแผนปฏิบัติการและทบทวนร่วมกับประสบการณ์
ที่ใช้แผนทำงานว่าควรมีเหตุการณ์ใดบ้างที่ควรจะให้ความสำคัญเพื่อการตรวจสอบแล้วจัดทำเอกสารรายการตรวจดังตัวอย่างนี้
ตัวอย่าง เอกสารรายการตรวจและบันทึกข้อบกพร่อง
กิจกรรม พัฒนาคุณภาพดินไร่ทนเหนื่อย สำหรับปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 30 มกราคม 2552
รายละเอียดปฏิบัติการณ์
3.3(2) = หว่านเมล็ดปุ๋ยพืชสดแล้ว คลุกเคล้าจุลินทรีย์ไรโซเปี้ยมไร่ละ 20 กก.
3.3(3) = ให้น้ำผสมจุลินทรีย์อย่างเจือจางกับปุ๋ยพืชสดวันเว้นวัน
3.4(1) = ให้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลาย (พด1 + พด2) ไปพร้อมกับน้ำวันเว้นวันเป็นเวลา 15 วัน
3.5(1) = ใช้จุลินทรีย์ไมโครโลซ่าเพื่อย่อยสลายหินฟอสเฟรส คลุกลงดินที่ย่อยสลายแล้ว
3.5(2) = จัดร่องปลูกผักคลุมหน้าดินด้วยฟางข้าว
2. ปฏิบัติการตรวจสอบ
การปฏิบัติการตรวจสอบทำ 2 ขั้นตอน คือ
2.1 ตรวจสอบหาข้อบกพร่องของเอกสารแผนปฏิบัติการ เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง
ผู้จัดการกับคนงานว่าการที่คนงานได้ปฏิบัติการศึกษาเอกสารแผนและปฏิบัติตามกิจกรรมในทุกเหตุการณ์ได้
ครบคิดว่ากิจกรรมเหตุการณ์ใด มีข้อบกพร่องที่ควรจะได้แก้ไข
2.2 ตรวจสอบภาคสนาม เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้จัดการกับคนงาน เพื่อตรวจหาข้อบกพร่อง
ในการดำเนินงาน ร่วมกันคิดวิเคราะห์ระบุสภาพที่เป็นปัญหา และแนวทางแก้ปัญหา
กิจกรรม : ตัวอย่าง เอกสารบันทึกข้อบกพร่องการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพดินไร่ทนเหนื่อย ปฏิบัติการ
ระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 30 มกราคม 2552
 3. การประเมินสรุปและเขียนรายงานผล
เป็นขั้นตอนการนำผลการตรวจติดตามตลอดรอบผลการผลิตเกษตรอินทรีย์ไปประเมินความรุนแรง
ของข้อบกพร่องว่าเกิดผลมาจากอะไรเป็นส่วนใหญ่ แล้วดำเนินการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องทั้งองค์ความรู้
และปัจจัยนำเข้าดำเนินงาน ดังตัวอย่าง
การปฏิบัติการแก้ไขและพัฒนา (A)
เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมการตรวจสอบหาข้อบกพร่อง และกำหนดแนวทางแก้ไข
ข้อบกพร่องโดยมีกำหนดระยะเวลา เมื่อถึงกำหนดเวลาจะต้องมีการติดตามผลว่าได้มีการปฏิบัติการแก้ไข

การประกอบอาชีพออกไป จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นบุคคลที่ทำงานบนฐานข้อมูล ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ด้านต่าง ๆ เข้ามาบูรณาการร่วมกันทั้งระบบ
ของอาชีพ
2. ต้องใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือ นั่นคือเราจะต้องตระหนักเห็นปัญหาต้องจัดการความรู้
หรือใช้แก้ปัญหา จัดการทดลองส่วนน้อย สรุปองค์ความรู้ให้มั่นใจ แล้วจึงขยายกิจกรรมเข้าสู่การขยายขอบข่าย
อาชีพออกไป
3. ต้องเป็นบุคคลที่มีความภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
สร้างองค์ความรู้ให้สูงส่งเป็นทุนทางปัญญาของตนเอง ชุมชนได้

2.2 ความเป็นไปได้ของการขยายอาชีพ การประเมินความเป็นไปได้ในการนำกรอบแนวคิดไปใช้ในการขยายอาชีพได้จริง



เรื่องที่ 2 ความเป็นไปได้ของการขยายอาชีพ การประเมินความเป็นไปได้ในการนำกรอบแนวคิดไปใช้ในการขยายอาชีพได้จริง


จากแผนภูมิดังกล่าวแสดงให้เห็นกรอบแนวคิดในการประเมินความเป็นไปได้ มีองค์ประกอบ
ร่วมกัน 6 องค์ประกอบ ในแต่ละองค์ประกอบมีตัวแปรดังนี้
1. รูปแบบการขยายอาชีพ มีตัวแปรร่วม ดังนี้
    1.1 ผลผลิต
    1.2 กระบวนการผลิต
    1.3 ปัจจัยนำเข้าการผลิต
2. ความยากง่ายของการดำเนินการจัดการ มีตัวแปรร่วม ดังนี้
    2.1 การบริหารจัดการ แรงงาน เงินทุน
    2.2 แผนธุรกิจ
3. การรับได้ของลูกค้า มีตัวแปรร่วมดังนี้
   3.1 ผลผลิตอยู่ในความนิยม
   3.2 เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต
   3.3 ราคา
4. การรับได้ของสังคมชุมชน มีตัวแปรร่วม ดังนี้
    4.1 สภาพแวดล้อม
5. ความเหมาะสมของเทคนิควิทยาการที่ใช้ในการขยายอาชีพ
    5.1 เทคนิควิทยาการเพื่อการลดต้นทุน
    5.2 เทคนิควิทยาการเพื่อการลดของเสีย
วิธีการวิเคราะห์
การวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจมีความจำเป็นที่เจ้าของธุรกิจจะต้องประเมินตัดสินใจด้วยตนเองสำหรับกรณีที่ธุรกิจมีหุ้นส่วนหรือผู้เกี่ยวข้อง ควรจะใช้วิธีสนทนาเจาะลึกและวิธีความสัมพันธ์ร่วมกัน โดยมีวิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้วยตนเอง ด้วยรายละเอียดและความเป็นไปได้ ความเป็นพวกเดียวกัน โดยทบทวนหลาย ๆ ครั้งจนมั่นใจแล้วจึงตัดสินใจความเป็นไปได้ของการขยายอาชีพ

2.1 ความจำเป็นในการมองเห็นช่องทางการประกอบอาชีพ การมองเห็นช่องทางการประกอบอาชีพ



เรื่องที่ 1 ความจำเป็นในการมองเห็นช่องทางการประกอบอาชีพ การมองเห็นช่องทางการประกอบอาชีพ

การมองเห็นช่องทางการประกอบอาชีพ
โอกาสและความสามารถที่จะนำมาประกอบอาชีพได้ก่อนผู้อื่น เป็นหัวใจสำคัญของการประกอบอาชีพหากผู้ประกอบอาชีพตามที่ตลาดต้องการและเป็นอาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น ย่อมทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จ สามารถพัฒนาตนเองให้มองเห็นโอกาสในการประกอบอาชีพได้ คือ
1. ความชำนาญจากงานที่ทำในปัจจุบัน จะเป็นแหล่งความรู้ ความคิด ที่จะช่วยให้มองเห็นโอกาสในการประกอบอาชีพได้มาก เช่น บางคนมีความชำนาญทางด้านการทำอาหาร ตัดเย็บเสื้อผ้า ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อท่อน้ำประปา ช่างไม้ ช่างปูกระเบื้อง ช่างทาสี ฯลฯ ซึ่งสามารถนำความชำนาญดังกล่าวมาพัฒนาและประกอบอาชีพได้ บางคนทำงานที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า เมื่อกลับมาภูมิลำเนาเดิมของตนเอง ก็นำความรู้ความสามารถและความชำนาญมาใช้เป็นช่องทางการประกอบอาชีพของตนเองได้
2. ความชอบความสนใจส่วนตัว เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้มองเห็นช่องทางโอกาสในการประกอบอาชีพบางคนชอบประดิษฐ์ดอกไม้ บางคนชอบวาดรูป ทำให้บุคคลเหล่านี้พัฒนางานที่ชอบ ซึ่งเป็นงานอดิเรกกลายเป็นอาชีพหลัก ทำรายได้เป็นอย่างดี
3.การฟังความคิดเห็นจากแหล่งต่าง ๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคล เป็นแหล่งความรู้และก่อให้เกิดความคิดริเริ่มเป็นอย่างดี ในบางครั้งเรามีความคิดแล้ว และได้พูดคุยกับบุคคลต่าง ๆ จะช่วยให้การวิเคราะห์ความคิดชัดเจนขึ้น ช่วยให้มองไปข้างหน้าได้อย่างรอบคอบก่อนที่จะลงมือทำงานจริง
4. การศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ การดูวีดีทัศน์ ฟังวิทยุ ดูรายการโทรทัศน์จะช่วยให้เกิดความรู้และความคิดใหม่ๆ
5. ข้อมูล สถิติ รายงาน ข่าวสารจากหน่วยราชการและเอกชน รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในการมองหาช่องทางในการประกอบอาชีพ ผู้ที่จะมองหาอาชีพ พัฒนาอาชีพ ควรให้ความสนใจข้อมูลต่าง ๆ ในการติดตามเหตุการณ์ให้ทัน แล้วนำมาพิจารณา ประกอบการตัดสินใจประกอบอาชีพ