วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

3.2 การวัดและประเมินผลความมั่นคงในอาชีพ



เรื่องที่ 2 การวัดและประเมินผลความมั่นคงในอาชีพ



การประเมินความมั่นคงในอาชีพ ผู้รับผิดชอบในการวัดและประเมินผลที่ดีที่สุด คือ ตัวผู้ประกอบอาชีพเอง เพราะการวัดและประเมินผลความมั่นคงในอาชีพ เป็นเรื่องที่บูรณาการ สิ่งต่างๆ ในตัวของประกอบการอาชีพเอง ตั้งแต่การเรียนรู้ว่าตนเองจะทำอย่างไร การคิดเห็น คุณค่าของกิจกรรมความมั่นคง ความจดจำในกิจกรรมและความรู้สึกพอใจต่อกิจกรรม เป็นเรื่องภายในทั้งสิ้น บุคคลอื่นไม่สามารถรู้เท่าตัวของผู้ประกอบอาชีพ ดังนั้น ความมั่นคงใน อาชีพตัวแปรต้นเหตุที่สำคัญ คือ ใจของผู้ประกอบอาชีพ ซึ่งมีหลักการประเมินสภาวะของธุรกิจ ประกอบด้วย ตัวแปร 4 ตัว ดังนี้
1. การรับรู้ (วิญญาณ) วิธีการรับรู้ที่ใช้ศึกษาภารกิจสร้างความมั่นคง
2. ความคิด (สังขาร) ประเมินคุณค่าว่าดีหรือไม่ดีของภารกิจความมั่นคงที่จะ ดำเนินการ
3. จำได้ หมายรู้ (สัญญา) ประเมินความจำว่าตนเองเอาใจใส่ต่อภารกิจความมั่นคงมากน้อยเพียงใด
4. ความรู้สึก (เวทนา) ประเมินความรู้สึกที่ตนเองพึงพอใจหรือชอบต่อภารกิจความ มั่นคงแบบใด

















วิธีการวิเคราะห์
การวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ มีความจำเป็นที่เจาของธุรกิจจะต้องประเมินตัดสินใจ ด้วยตนเองสำหรับกรณีที่ธุรกิจมีหุ้นส่วนหรือผู้เกี่ยวข้องควรจะใช้วิธีสนทนาเจาะลึกและวิธี ความสัมพันธ์ร่วมกันโดยมีวิธีการดังนี้
1.การวิเคราะห์ตัดสินใจตัวบงชี้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทีละคู่ ด้วยการใช้ วิจารณญาณของตนเอง นึกคิดในรายละเอียดความสัมพันธ์ความไปกันได้ และความเป็นนพวก เดียวกันว่าหนักไปทางมีความสัมพันธ์
2.การให้คะแนนโดยให้คู่องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ได้คะแนน 1 คะแนน คู่ที่ไม่ สัมพันธ์ให้ 0 คะแนน

วิธีการประเมิน
การรวมคะแนนจากองค์ประกอบการประเมินแต่ละข้อ แล้วประเมินสรุปตามเกณฑ์ การประเมิน เช่น
1.แนวทางขยายอาชีพของกลุ่มจักสาน มีคู่ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการ ประเมินรวมคะแนนได้ 9 คะแนน สามารถอธิบายได้ว่าแนวทางขยายอาชีพของกลุ่มจักสาน มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง
2.แนวทางขยายอาชีพของกลุ่มเลี้ยงปลา มีคู่ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการ ประเมินรวมคะแนนได้ 3 คะแนน สามารถอธิบายได้ว่าแนวทางขยายอาชีพของกลุ่มเลี้ยงปลา เป็นรูปแบบที่มีความเป็นไปได้ต่ำมากรูปแบบไม่สามารถนำไปใช้ได้

สรุป
แนวทางประเมินความเป็นไปได้ของการนำรูปแบบขยายอาชีพไปใช้เป็นรูปแบบที่เน้น การใช้เหตุผลเป็นหลัก ไม่ใช่การหาความสัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์ เป็นการมองหาเหตุผลด้วย วิจารณญาณของตนเอง เพื่อรับผิดชอบตนเองและนำตนเองได






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น