วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

1.2 การขยายอาชีพในชุมชน ประเทศ และ ภูมิภาค 5 ทวีป




การขยายอาชีพในชุมชน ประเทศ และ ภูมิภาค 5 ทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย ทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา

กลุ่มอาชีพใหม่
จากการเปลี่ยนแปลงในบริบทโลกทั้งในส่วนการรวมกลุ่มทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และประการสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรทางสังคม ดังนั้น อาชีพในปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนาวิธีการและศักยภาพในการแข่งขันได้ในระดับโลก ซึ่งจะต้องคำนึงถึงบริบทภูมิภาคหลักของโลก หรือ รู้ศักยภาพเขาหมายถึง ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปออสเตเลีย ทวีปแอฟริกาและจะต้อง รู้ศักยภาพเราหมายถึงรู้ศักยภาพหลักของพื้นที่ประเทศไทย คือศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นเพื่อให้การประกอบอาชีพสอดคล้องกับศักยภาพหลักของพื้นที่และสามารถแข่งขันในเวทีโลก จึงได้กำหนดกลุ่มอาชีพใหม่ 5 กลุ่มอาชีพ คือ กลุ่มอาชีพใหม่ด้านการเกษตร กลุ่มอาชีพใหม่ด้านพาณิชยกรรม กลุ่มอาชีพใหม่ด้านอุตสาหกรรม กลุ่มอาชีพใหม่ด้านความคิดสร้างสรรค์ และกลุ่มอาชีพใหม่ด้านบริหารจัดการและบริการ
1.กลุ่มอาชีพใหม่ด้านการเกษตร คือการพัฒนาอาชีพในด้านการเกษตรเกี่ยวกับการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ การประมง โดยนำองค์ความรู้ใหม่ เทคโนโลยี/นวัตกรรม ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพของภูมิประเทศ และทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีของแต่ละพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น
2.กลุ่มอาชีพใหม่ด้านพาณิชยกรรม คือการพัฒนาหรือขยายขอบข่ายอาชีพด้านพาณิชยกรรม เช่น ผู้ให้บริการจำหน่ายสินค้าทั้งแบบค้าปลีกและค้าส่งให้แก่ผู้บริโภคทั้งมีหน้าร้านเป็นสถานที่จัดจำหน่าย เช่นห้างร้าน
3.กลุ่มอาชีพใหม่ด้านอุตสาหกรรม คือการพัฒนาอาชีพที่อาศัยองค์ความรู้ เทคโนโลยี/นวัตกรรม อาชีพเกี่ยวกับงานช่าง ซึ่งได้แก่ช่างไฟฟ้า ช่างไม้ ช่างยนต์ ช่างประปา ช่างปูน และช่างเชื่อมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
4.กลุ่มอาชีพใหม่ด้านความคิดสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสการแข่งขันของโลกธุรกิจที่ไร้พรมแดนและการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคม การแลกเปลี่ยนสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่ที่อยู่ห่างไกลนั้นเป็นเรื่องง่ายในปัจจุบันเมื่อข้อจำกัดของการข้ามพรมแดนมิใช่อุปสรรคทางการค้าต่อไป  โดยหลักการของเศรษฐกิจสร้างสรรค์คือแนวคิดหรือแนวปฏิบัติที่สร้าง/เพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการได้โดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรมากนัก แต่ใช้ความคิด สติปัญญา   สร้างความมั่นคงด้านพลังงานควบคู่ไปกับการปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจและการบริหารจัดการเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เป็นฐานเศรษฐกิจของประเทศที่เข้มแข็งและขยายตัวอย่างมีคุณภาพกลุ่มอาชีพใหม่ด้านความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นอาชีพที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้(Knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน (Creativity) และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา(Intellectual Property) ที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม (Culture) การสั่งสมความรู้ของสังคม (Wisdom)และเทคโลโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ (Technology and Innovation) (อาคม เติมพิทยาไพสิฐ, 2553)

5.กลุ่มอาชีพใหม่ด้านบริหารจัดการและบริการ เช่น ธุรกิจบริการท่องเที่ยว ธุรกิจบริการสุขภาพธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ธุรกิจภาพยนต์ ธุรกิจการจัดประชุมและแสดงนิทรรศการ บริการที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาทางธุรกิจงานอาชีพใหม่ทั้ง 5 กลุ่ม ในอนาคตจะมีการเติบโตทางธุรกิจมากขึ้น จึงมีความต้องการเจ้าหน้าที่ บุคคล พนักงาน เพื่อควบคุมและปฏิบัติงานที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะฝีมือเป็นจำนวนมากการขยายขอบข่ายอาชีพระดับประเทศธุรกิจที่มีการขยายขอบข่ายอาชีพในระดับประเทศ  และมีของเสียหายน้อยที่สุดเป็นเรื่องสำคัญในงานอาชีพด้านเกษตรกรรม งานอาชีพด้านอุตสาหกรรม งานอาชีพด้านพาณิชยกรรม งานอาชีพด้านความคิดสร้างสรรค์ งานอาชีพด้านอำนวยการและอาชีพเฉพาะทาง ดังนั้นการจัดตั้งธุรกิจรองลงมาที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการลดปริมาณการเสียหายให้น้อยที่สุดจนเหลือศูนย์รองรับธุรกิจหลัก จึงเกิดการขยายขอบข่ายอาชีพขึ้น

ตัวอย่างที่ 1 การขยายขอบข่ายจากอาชีพผลิตกระเป๋าถือสุภาพสตรี

การขยายอาชีพระดับโลก
หากเราจะมองไปที่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นนักคิด นักพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ และอื่น ๆ

ตัวอย่างที่ 1 การขยายขอบข่ายอาชีพจากเกษตรอินทรีย์



จากตัวอย่างเราจะเห็นว่า อาชีพปลูกพืชอินทรีย์เป็นอาชีพหลักที่สามารถขยายขอบข่ายออกไปเป็น อาชีพปศุสัตว์และประมง อาชีพแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อาชีพท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และอาชีพจัดการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น